KhonThai America : คนไทยในอเมริกา

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
แท็กยอดนิยม: ภาษาไทย แจก discuz
ดู: 5271|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอเมริกา

[คัดลอกลิงก์]

1188

กระทู้

4

ติดตาม

6160

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8


stock-footage-patriot-american-woman-holding-stars-and-stripes-against-sky-in-sl.jpg


        อเมริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีคนจำนวนมากให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมในอเมริกา เริ่มจากการอพยพเข้าสู่ประเทศอเมริกาและเริ่มสร้างชาติ สร้างวัฒนธรรม ซึ่งมีสามช่วงด้วยกัน

1. Old immigration เป็นช่วงที่การอพยพเกี่ยวข้องกับศาสนา มีผู้จาริกแสวงบุญ หรือ พวกเคร่งศาสนา (Pilgrims ) อพยพมาแสวงหาดินแดนใหม่

2. New immigration เป็นช่วงที่การอพยพเกี่ยวข้องกับ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่เกิดขึ้นทำให้คนยากจนจำนวนมาก เสาะหาดินแดนใหม่ ด้วยความหวังว่า เมื่ออยู่ที่นั่นจะทำให้เขาสร้างเนื้อสร้างตัวได้ พวกเขาจึงขึ้นเรือมาที่ America ดังนั้นเราจะเรียกยุคนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า ” ยุคตื่นทอง “

3. Modern immigration จากทฤษฎีทางสังคมเกี่ยวกับการอพยพ ( Social Theories of Immigration )กล่าวว่า อเมริกามีความเป็น Melty pot คือผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรม หลอมรวมวัฒนธรรมของตนเข้าด้วยกัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของอเมริกา ( American uniqness ) ในด้านความสัมพันธ์ของคนขาวกับอินเดียนแเดงที่เป็นเจ้าของที่มาก่อนนั้น เป็นไปแบบ love and hate relationship ในปัจจุบันคนอเมริกันเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมตน จึงเริ่มตามหารากเหง้า ( Root )ของตน พวกเขาต้องการรู้ว่าตนมาจากที่ไหน ถึงแม้มีการผสมผสานกันก็จริง แต่ก็ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ (Still identifiable ) ของแต่ละวัฒนธรรมไว้จึงกลายมาเป็นทฤษฎีชามสลัด ( Salad Bowl ) ในที่สุด

– รูปแบบวัฒนธรรมของชาวอเมริกัน ( Dominant American Cultural Patterns ) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็น Style หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของเขาอย่างแท้จริง เหมือนเราอยู่ในวัฒนธรรมไทย เราก็ต้องเรียนรู้ “ความเป็นไทย “  เสียก่อน

– ปัจเจกนิยม ( Individualism )
   คนอเมริกันมีความเป็นปัจเจกนิยมมาก แต่ละคนจะต่างกันและมีเอกลักษณ์ ( uniqueness ) ของตน คนพิการในอเมริกา ไม่ถือว่าเป็นคนที่ด้อยกว่าคนปกติแต่อย่างใด พวกเขาจะไม่มานั่งสงสารตัวเอง ไม่ถือเป็นเรื่องกรรมเวร พวกเขาจะถูกปลูกฝังให้เห็นคุณค่าของตัวเอง และให้คิดว่าตัวเองเป็นคนที่พิเศษ ไม่มีใครเหมือน ( You are so special )เราจะเห็นความเป็นปัจเจกนิยม ได้ในสุภาษิต ( Proverb )เช่น “God helps those who help themselves.” ( Benjamin Franklin )

       นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบสุภาษิต อเมริกาและจีนแล้ว เราจะเห็นข้อแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมชัดเจน กล่าวคือ คนอเมริกัน จะศรัทธาในตนเองมากกว่า และทำอะไรเป็นขั้นตอน ( step ) ต่างกับจีนที่มีวัฒนธรรมทำอะไรเป็นกลุ่ม(collectivism ) จะถือบรรพบุรุษและรักษาหน้าตาของบรรพบุรุษ ดังนั้นใช่ว่าทุกสังคมจะเหมาะกับวัฒนธรรมแบบindividualism อย่างรัสเซีย หรือ จีน ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่อยู่คนละขั้วกับวัฒนธรรมเช่นนี้

– ความเท่าเทียม หรือ ความเสมอภาค ( Equality )
    ถ้าเปรียบเทียบไทยกับอเมริกาแล้ว เราจะใช้คำเรียกขาน หรือคำนำหน้าคนที่เราไม่รู้จักว่า ลุง ป้า น้า อา พี่ ย่า ยายซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยถือระบบเครือญาติ ให้ความสัมพันธ์กับความรู้สึกใกล้ชิด สนิทสนม และให้ความเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าด้วย ต่างจากอเมริกาที่มีแค่ I You Mr. Mrs. Miss เป็นต้น

– Science and Technology
    Power of Mass – Media ในอเมริกาเป็นสิ่งสะท้อนความเป็นวัตถุนิยม ( materialism ) มีโฆษณาชวนเชื่อเกิดขึ้นมากมาย โดยโฆษณาเหล่านั้นชี้ให้เห็นทิศทาง และ แนวโน้มของสังคม เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันสื่อต่างๆมีอิทธิพลมาก และคนที่อยู่ในสังคมก็ รับเข้ามา มีหนังสือHow-to มากมาย เกี่ยวกับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงเรื่องอื่นๆด้วย

            ในด้าน Work and Leisure คนอเมริกันจะมีการทำงานและการพักผ่อนที่เข้าข่าย “ Play hard, Work hard” เขาจะมีความเป็นมืออาชีพสูง มีความตั้งใจและทุ่มเทกับงาน แต่เมื่อเลิกงานก็จะละทิ้งทุกอย่างและเต็มที่กับการพักผ่อนเช่นกัน วัฒนธรรมองค์กรของประเทศอเมริกา ก็แตกต่างจากไทย กล่าวคือ เขาจะมีความเสมอภาค ขณะที่ไทยยังคงนับถือระบบอาวุโสอยู่ คนอายุน้อยถึงมีความสามารถก็ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่งช้า เรียกได้ว่า วัยวุฒิ ไม่ถึงก็เดินตามหลังผู้ใหญ่กันต่อไป และในเรื่องการทำงาน คนไทยจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาผูกพันกับงานมากเกินไปบางครั้งจึงไม่ค่อยเปิดใจ หากผลงานตนเองถูกวิพากษณ์วิจารณ์ และผู้ถูกวิพากษณ์วิจารณ์จะเสียความรู้สึกกับคนที่วิจารณ์งานของตน จนรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ ขณะที่ คนต่างชาติเขาจะแยกเรื่องงานออกจากความรู้สึกส่วนตัว ต่อให้เถียงกันเรื่องงานมากแค่ไหน แต่หลังงานเลิกเขาก็ยังคุยกันได้ปกตินอกจากนี้การเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม คนอเมริกันจะตรงไปตรงมา (Directness) กล้าคิดกล้าแสดงออก มีแอคชั่น ใช้ภาษากาย (body language) ถ้าเขาคิดอย่างไร จะแสดงออกทางสีหน้าอย่างเห็นได้ชัด หากมีประเด็นอะไรก็จะพูดออกมา แต่คนไทยจะไม่ค่อยแสดงออกมาก เพราะถือว่ามีผู้นำคอยตัดสินใจแทนอยู่แล้ว และให้ค่ากับการทำงานเป็นทีม (Team work) โดยมีผู้นำ และคอยรับคำสั่งจากเบื้องบน (dependence) มากกว่าจะตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง เพราะไม่กล้าเสี่ยง และกลัวความผิดพลาดนอกจากนี้ในเรื่องเวลา คนอเมริกันจะให้คุณค่ากับเวลา เขาจะตรงต่อเวลามาก แม้แต่กำหนดส่งงาน ก็ตรงตามที่นัดหมายเอาไว้ ในด้าน Progress and Change และCompetition เราจะเห็นได้ว่า คนอเมริกันเป็นพวกหัวก้าวหน้า พวกเขาจะไม่ชอบหยุดอยู่นิ่ง แต่จะไต่ระดับความก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ เสาะหาตำแหน่งที่ดีกว่า ชีวิตทื่ดีกว่าให้ตนเอง จะมีการแข่งขันกันสูง แต่ทุกคนก็เคารพในสิทธิของกันและกัน เน้นรับผิดชอบหน้าที่ในส่วนตนให้ดีที่สุด มีการตัดสินใจที่เฉียบขาด วางแผนในอนาคต มองการณ์ไกล

       ตัวอย่างจากวัฒนธรรมขององค์กร Google ทุกๆ 29นาที คนจะสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ที่บริษัท Google ที่นี่มีความเป็น Multi race คือมีคนหลากเชื้อชาติ แต่ทุกคนก็เป็นอเมริกัน บรรยากาศการทำงานไม่มีความตึงเครียด(tension ) เราเห็นวัฒนธรรมขององค์กร เช่น ” Scale , atmosphere , personality “

         ส่วนภาพยนตร์เรื่อง The Pursuit of Happyness  เป็นเรื่องที่นอกจากจะสะท้อนให้เห็นชีวิตของ Christopher Paul Gardner แล้วยังเห็นวัฒนธรรม รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวอเมริกาอีกด้วย ซึ่งขอสรุปเป็นจุดสำคัญๆ ดังนี้

1. attentiveness คนอเมริกามีความตื่นตัว เสาะหาความก้าวหน้า และ การแข่งขันสูง

2. เน้นการกระทำ ( action ) มากกว่า พูด

3. มีเป้าหมาย หรือ ความฝัน ที่ชัดเจนมาก

4. ไม่ยอมถูกเอารัด เอาเปรียบ ปกป้องสิทธิตนเองมากและไม่รุกล้ำสิทธิผู้อื่น

5. Struggle มีการดิ้นรน ทะเยอทะยาน ต้องการยกระดับชีวิตของตน ถึงแม้ทุกคนจะมีมาเท่ากัน แต่ถ้าต้องการก็ทำได้

6. “ all man are equal “ และมีพึ่งพาตัวเองสูง ( Individualism )

7. มีความตรงต่อเวลาในการนัดหมาย และการทำงาน

8. การเลี้ยงดูลูกของคนอเมริกัน สอนให้เด็กคิดเป็น โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่ให้เลือกทางเดินเอง

9. เชื่อใน spirit ของตนเอง และ สร้างตนเองได้

10. ถึงแม้จะมีปัญหาคนตกงาน ความยากจน เศรษฐกิจที่ถดถอย หรือ แม้แต่ปัญหาคนไร้บ้าน
( homeless ) ที่มีจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นสภาพชีวิต ทิศทางของสังคมที่ดำเนินไปภายใต้สภาพแวดล้อมที่กดดัน แต่ว่าสภาพแวดล้อมไม่ใช่ข้ออ้างให้ติดอยู่กับวงจรเดิมๆ

บรรยากาศการเรียนการสอนของอเมริกาต่างจากไทยอย่างไร

       บรรยากาศการเรียนการสอนของไทยในรูปแบบเก่า ครูจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เด็กจะไม่พึ่งตัวเอง ไม่ค่อยขวนขวายมากนักแต่จะพึ่งครู คอยรับสารจากครูเท่านั้น โดยไม่มีการตอบรับ ( feedback ) เท่าที่ควร นักเรียนส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty avoidance) ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเรียนแบบนี้เป็นการสื่อสารทิศทางเดียว (One-way Communication) โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอด (Speaker) นักเรียนเป็นผู้ฟัง (Listener ) ในขณะที่บรรยากาศการเรียนการสอนของอเมริกา จะเน้น ” การมีส่วนร่วม “ จะมีการแสดงความคิดเห็น การโต้ตอบกัน อย่างเสรีเด็กจะมีความเป็นตัวของตัวเองและแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมามากที่สุด

โดย ศิรตะวัน ทหารแกล้ว
Siratawan Thahanklaew

ที่มา https://siratawan42.wordpress.co ... %E0%B8%AD%E0%B9%80/
รูปจาก dopepicz.com

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

Archiver|WAP|KhonThai America

GMT+7, 2024-4-23 16:52 , Processed in 0.048660 second(s), 25 queries .

Powered by Discuz! X2.5  Language by l3eil3oy

© 2001-2012 Comsenz Inc. style by eisdl

ขึ้นไปด้านบน