ice999 โพสต์เมื่อ 2017-2-13 14:45:19

การฝึกงานและทำงานในอเมริกาหลังเรียนจบ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ice999 เมื่อ 2018-7-27 12:58

hrmaj.org

                    หลาย ๆ คน ใฝ่ฝันอยากมาทำงานตามบริษัทในอเมริกา แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงใช่มั้ยคะ? วันนี้ทาง Khon Thai America มีข้อมูลมาแบ่งปัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนนะคะ

เคยได้ยิน STEM และ OPT กันมั้ยคะ เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับ STEM และ OPT กันก่อนว่า คืออะไร

Career Glider


dcinno.streetwise.co

              STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, Math โดยนักเรียนที่เรียนสาขาเหล่านี้ในมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยของอเมริกา สาขาไหนก็ได้ จะมีสิทธิ์ฝึกงานเวลา 12 เดือน และทำงานในอเมริกาด้วยวีซ่านักเรียน F1  เป็นเวลาอีก 17 เดือน รวม ๆ แล้วก็ประมาณ 29 เดือน หากใครไม่มั่นใจว่าสาขาที่เราเรียนนั้นใช่ STEM มั้ย ลองเช็คได้ที่นี่เลยค่ะ ลิสรายชื่อสาขาของ STEM

ข้อดีของการเรียน STEM
1. มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย
2. ได้เงินเดือนสูง
3. เปลี่ยนงานไปสายอื่นได้ง่าย

Non-STEM จะเป็นสาขาวิชาที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น MBA, History, Music  และอีกอื่นๆ อีกมากมาย


Emaze

www.vluk.org

                 ส่วน OPT นั้นย่อมาจาก Optional Practical Training หรือการฝึกงานในอเมริกานั่นเอง และในวีซ่า F1 ของเราจะระบุว่า OPT ซึ่งเปรียบเสมือนใบอนุญาตทำงาน เอาง่าย ๆ คือ หลังจากเรียนจบ เราจะมีสิทธิ์ฝึกงานในอเมริกาเป็นเวลา 12 เดือนนั่นเอง (สาย Non-STEM ฝึกงาน 12 เดือน สาย STEM ฝึกงาน 24 เดือน) สมมติ เราจบมาทั้ง 2 สาย เช่น จบ ป.ตรี คณตศาสตร์ จบ ป.โท MBA ถ้าเราอยากฝึกงาน 24 เดือน เราก็สามารถยื่นใบ ป.ตรี ไปได้ค่ะ ถ้ายื่นของ ป.โท เราจะฝึกงานได้แค่ 12 เดือน

                OPT จะยังไม่ใช่วีซ่าทำงานแบบเต็มรูปแบบถ้าเทียบกับตัว H1B นะคะ แต่จะเป็นเหมือน 1 ในพนักงานบริษัทเลยค่ะ ทำงานได้เงินเดือนเหมือนกัน

                นักเรียนสามารถสมัครเข้ารับการฝึกงานแบบ OPT ได้ ทั้งก่อนหรือหลังสำเร็จการศึกษาเลยนะคะ มีทั้งแบบเต็มเวลาหรือแบบนอกเวลา หรือหากได้รับข้อเสนอให้เข้าทำงานเลย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสมัครขอฝึกงานแบบ OPT ค่ะ



ข้อดีของ OPT
ช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานทำในอเมริกา เพราะการมี OPT จะเป็นสะพานที่ช่วยให้บริษัทสปอนเซอร์วีซ่า H1B ให้เราง่ายขึ้น ช่วงนี้ก็รีบทำคะแนนและโชว์ศักยภาพเลย

หมายเหตุ เราต้องรีบหางานได้ภายใน 90 วันนับจากวันที่ใบ OPT ออกนะคะ มิฉะนั้น ต้องออกนอกประเทศค่ะ



bestcollegesonline.com

กระบวนการยื่น OPT
จะกินเวลาประมาณ 1-2 เดือนในการออกเอกสาร เพราะฉะนั้น ควรขอเอกสารก่อนเรียนจบ 2 เดือน พอทางโรงเรียนแจ้งมาว่าได้แล้วค่อยไปรับค่ะ (ข้อมูลเพิ่มเติมที่  U.S. Citizenship and Immigration Services )
ในช่วงที่รอเอกสาร OPT เราก็หางานไปเรื่อย ๆ ค่ะ  จะช่วยลดเวลาได้เยอะ แนะนำเว็บหางานของทางมหาวิทยาลัยโดยตรง จะน่าเชื่อถือกว่า


หมายเหตุ
สำหรับช่วงที่ถือ OPT อยู่ แล้วยังไม่ได้การตอบรับจากบริษัทไหนเลย อย่าเพิ่งกลับมาไทยนะคะ มิฉะนั้นจะถือว่าเราสละสิทธิ์ OPT ค่ะ


พอเข้าใจกันคร่าวๆ แล้วใช่มั้ยคะ คราวนี้มาดูตัวอย่าง ฐานเงินเดือนต่อปีของอาชีพที่อยู่ในกลุ่ม STEM กันค่ะ (อ้างอิงจาก USnews)

1. Computer Programmer
เงินเดือนเฉลี่ย $77,550

2. Cost Estimator
เงินเดือนเฉลี่ย $60,050

3. Finacial Analyst
เงินเดือนเฉลี่ย $78,620

4. Logistician
เงินเดือนเฉลี่ย $73,870

5. Biochemist
เงินเดือนเฉลี่ย $84,940

6. Medical Scientist
เงินเดือนเฉลี่ย $67,420

7. Computer System Administrators
เงินเดือนเฉลี่ย $75,790

8. Civil Engineer
เงินเดือนเฉลี่ย $82,050

9. Finalcial Manager
เงินเดือนเฉลี่ย $115,320

10. Computer Support Specialist
เงินเดือนเฉลี่ย $ 61,830

11. Actuary
เงินเดือนเฉลี่ย $96,700


12. Database Administrator
เงินเดือนเฉลี่ย $80,280


13. Environmental Engineering
เงินเดือนเฉลี่ย $80,890

14. Mechanical Engineer
เงินเดือนเฉลี่ย $83,060

15. Mathematician
เงินเดือนเฉลี่ย $103,720

16. IT Manager
เงินเดือนเฉลี่ย $127,640

17. Accountant
เงินเดือนเฉลี่ย $65,940


ตัวอย่าง ฐานเงินเดือนต่อปีของอาชีพที่อยู่ในกลุ่ม Non-STEM (อ้างอิงจากอาชีพที่ได้เงินเดือนเยอะที่สุดจากเว็บ fortune)
1. Strategy manager
เงินเดือนเฉลี่ย $102,000

2. Business insight and analytics manager
เงินเดือนเฉลี่ย $96,700

3. General counsel
เงินเดือนเฉลี่ย $119,000

4. Global marketing manager
เงินเดือนเฉลี่ย $95,000

5. Senior contracts manager
เงินเดือนเฉลี่ย $96,300

Freedom Fast Lane


Tips การสมัครงานสำหรับนักเรียน
1. เช็คเว็บหางานของทางมหาวิทยาลัยว่ามีที่ไหนเปิดรับบ้าง แพลนเอาไว้ว่าอยากทำงานที่ไหน
2. พยายามสร้างคอนเนคชั่นให้ได้เยอะที่สุดตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย
3. ขอคำปรึกษาจาก career planning office ในมหาวิทยาลัย
4. รู้จักบริษัทที่เราจะสมัครคร่าว ๆ แนะนำให้ลองค้นจากเว็บไซต์ของบริษัท
5. เข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง เพราะอาจใช้ในการสัมภาษณ์
6. ส่งใบสมัครให้ดูเป็นมืออาชีพมากที่สุด อ่านดีๆ ว่าทางบริษัทให้ส่งประวัติไปโดยตรงหรือทางอีเมลเท่านั้น
7. ลองเช็คดูว่าทางบริษัทได้รับใบสมัครเราหรือยัง หลังจากผ่านไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ โดยการโทรถามก็ได้ค่ะ
8. ก่อนไปสัมภาษณ์ ควรซ้อมสัมภาษณ์ให้บ่อยที่สุด ลองเช็คเว็บไซต์ที่มีประโยคจำลองสถานการณ์
9. วันสัมภาษณ์ แต่งตัวให้ดูดีที่สุด แนะนำเป็นชุดสูทแบบทางการค่ะ

stefan-george.de

                  เป็นยังไงบ้างกับการหางานทำในอเมริกา ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยคะ ที่พิเศษก็คือ หากเราเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่นี่ จะมีโอกาสสูงกว่าสมัครทำงานเองจากประเทศไทยโดยตรงมาก ๆ เลยค่ะ แถมยังเป็นการที่เราได้มีโอกาสได้ทำงานในบริษัทดี ๆ อย่างถูกกฏหมายอีกด้วย  
                 ส่วนใครที่ ที่สนใจเรียนที่อเมริกา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ อีเมล enroll@khonthaiamerica.com หรือทาง Inbox https://www.facebook.com/KhonThaiAmerica   ทางเรามีเจ้าหน้าที่ดูแลนักเรียนอยู่ตามเมืองต่างๆ เช็ครายชื่อเจ้าหน้าที่ ที่นี่  http://khonthaiamerica.com/services/khon-thai-america-staff/


โดย Ice : KhonThaiAmerica

ขอบคุณที่มา
http://money.usnews.com/careers/slideshows/the-25-best-stem-jobs-of-2016?slide=2
https://www.careerwise.mnscu.edu/careers/stemcareers
http://www.usnews.com/education/blogs/international-student-counsel/2014/11/11/4-ways-international-students-can-explore-job-opportunities
https://www.internationalstudent.com/study_usa/graduation/job-search/
http://www.wesstudentadvisor.org/2014/02/top-us-jobs-for-international-graduates.html
http://www.internationalstudentloan.com/resources/how-international-students-can-get-a-job-after-college.php
https://career.berkeley.edu/IntnlStudents/IS-strategies
http://isss.illinois.edu/students/employment/f1_optext.html
https://pantip.com/topic/35733401
http://kumawind.exteen.com/20130112/life-opt

โพสต์เมื่อ 1970-1-1 07:00:00

หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: การฝึกงานและทำงานในอเมริกาหลังเรียนจบ